ความเสี่ยง!! เมื่อลูกคลอดก่อนกำหนด

26 พฤษภาคม 2566
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

>> #ทารกที่คลอดออกมาดูโลกก่อนกำหนด << มักมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กคลอดครบกำหนด ทั้งนี้เนื่องจากในแต่ละวันของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตเป็นระยะๆ และสมบูรณ์เมื่อครบกำหนดคลอด ดังนั้น หากคลอดก่อนกำหนด ทารกกลุ่มนี้จะยังมีร่างการที่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ทารกไม่แข็งแรง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ ยิ่งถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไหร่ ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น โรค หรือ ความผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทารกคลอดก่อนกำหนด มีดังนี้
>> #ปอดทำงานไม่สมบูรณ์ << ปอดเป็นอวัยวะที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของทารกแรกเกิด ถุงลมซึ่งอยู่ในปอดจะสร้างสารลดแรงตึงผิว เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงลมแฟบ และจะมีปริมาณเพียงพอเมื่ออายุครรภ์เกิน 37 สัปดาห์ หากคลอดก่อนกำหนด ปอดจะแฟบ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ตามปกติ ทารกจึงมีอาการขาดออกซิเจนตามมา
>> #ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง << ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าใด เส้นเลือดในสมองของทารกก็จะมีความเปราะบาง ฉีกขาดได้ง่าย จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในโพรงสมอง หากถูกกระทบกระเทือน
>> #ภาวะติดเชื้อ << ทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีร่างกายอ่อนแอ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะภูมิคุ้มกันของเด็กยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
>> #พัฒนาการล่าช้า << ทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีพัฒนาการล่าช้าในระยะแรกเมื่อเทียบกับเด็กคลอดครบกำหนด ดังนั้นเมื่อกลับไปที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ต้องให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน และช่วยกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้เทียบเท่าเด็กปกติ
>> #ปัญหาด้านการมองเห็น << เมื่อคลอดก่อนกำหนดเส้นเลือดในจอตายังสร้างไม่สมบูรณ์ เมื่อมีการสร้างเส้นเกิดแผลเป็นในจอประสาทตเลือดขึ้นมาใหม่ อาจไปทำอันตรายต่อจอตา ทำให้มีปัญหาด้านการมองเห็นตั้งแต่อายุยังน้อย
>> #ปัญหาด้านการได้ยิน << ทารกคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองก่อนออกจากโรงพยาบาล และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
>> #ภาวะโลหิตจาง << การคลอดก่อนกำหนด ทำให้ธาตุเหล็กที่ถูกนำมาสะสมไว้ในร่างกายในช่วงสามเดือนสุดท้ายน้อยกว่าเด็กครบกำหนด เมื่อร่างการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดต่ำลงตามธรรมชาติ ก็อาจทำให้เด็กกลุ่มนี้มีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นได้
>> #สมองทำงานไม่สมบูรณ์ << เมื่อคลอดก่อนกำหนด การทำงานของสมอง โดยเฉพาะในส่วนควบคุมการหายใจยังทำงานไม่สมบูรณ์ บางรายจังมีอาการหยุดหายใจ ต้องอยู่ในเครื่องช่วยหายใจระยะหนึ่ง เมื่อมีความพร้อมมากขึ้น คุณหมอก็จะถอนเครื่องช่วยหายใจออก
>> #โรคปอดเรื้อรัง << ทารกต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เพราะยังไม่มีแรงหายใจพอ อาจได้รับผลกระทบจากออกซิเจนและแรงดันของเครื่องช่วยหายใจทำให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง และอาจส่งผลระยะยาวให้กลายเป็นโรคหอบได้
>> #ภาวะลำไส้เน่าตาย << ยิ่งเป็นทารกที่คลอดออกมาตัวเล็กมากเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลำไส้เน่า กินนมไม่ได้จนกว่าลำไส้จะรักษาตัวเองจนกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าหากร้ายแรงมากขั้นจนมีอาการสำไส้ทะลุ ก็อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!