นโยบายและแผน

นโยบายผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน

นโยบายการพัฒนา  ของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน  ประกอบด้วย

    นายสำรวย                    อินทร์นะนิสา       นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน

    นายงาม                        กวางคีรี              รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน

    นางกัณฐมณี                 บัวบาน               รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน

    นางเตือนใจ                   เอี๊ยะมณี            เลขานุการผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน

                โดยได้วางนโยบายวิสัยทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอนไว้   6   ด้านดังต่อไปนี้

1.ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

    1.1  ยกระดับรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ  10

    1.2  ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

    1.3  ตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพ

    1.4  เป็นเขตพัฒนาการเกษตรเพื่อการแปรรูปอุตสาหกรรมขนาดย่อม

    1.5  จัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านการเกษตร

2.  ด้านการพัฒนาสังคม

    2.1  เป็นพื้นที่ปลอดภัยยาเสพติด

    2.2  ผู้ว่างงาน/ตกงานลดน้อยลงร้อยละ  20

    2.3  ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมทุกประเภทได้รับการช่วยเหลือไม่น้อยกว่า  351  คน

    2.4  ประชาชนสุขภาพดีร้อยละ  100

    2.5  นักเรียนได้รับอาหารเสริม (นม) ร้อยละ  100

    2.6  เป็นแหล่งวัฒนธรรม  ศีลธรรมและจริยธรรม

3.  ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

    3.1  ถนนภายในหมู่บ้านได้รับการซ่อมแซมทุกปี ๆ  ละ  5  สาย

    3.2  ราษฎรได้รับบริการสาธารณูปโภคร้อยละ  90

    3.3  ถนนภายในหมู่บ้านและระหว่างตำบลได้รับการพัฒนาเป็นเส้นทางมาตรฐาน

    3.4  มีโทรศัพท์สาธารณะครบทุกหมู่บ้าน

    3.5  ราษฎรมีโทรศัพท์ใช้ภายในหมู่บ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

4.  ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ

    4.1  ประชาชนร้อยละ  100  ของครัวเรือนทั้งตำบลมีน้ำใช้เพียงพอ

    4.2  เกษตรร้อยละ  90  ของตำบลมีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

    4.3  แหล่งน้ำได้รับการก่อสร้าง  และดูแลรักษาไม่น้อยกว่า  15  แห่ง

5.  ด้านพัฒนาการเมืองการปกครอง

    5.1  ประชาชนร้อยละ  90  ได้รับข้อมูลข่าวสาร  และเข้าใจในบทบาททางการเมืองการปกครอง

    5.2  ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ  70

6.  ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    6.1  คุณภาพน้ำ  อากาศ  ดิน  ได้รับการปรับปรุงและแก้ไขมลพิษได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ  70

    6.2  สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนร้อยละ  30  ของปริมาณขยะทั้งตำบล

    6.3  เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์  และเมืองน่าอยู่