ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมา ตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บ้านตะคร้ำเอนเดิมชื่อ "บ้านศาลา" เป็นหมู่บ้านเล็กๆขึ้นอยู่กับตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกาสถานที่ตั้งหมู่บ้านเป็นป่าไม้เบญจพรรณอยู่กระจัดกระจาย การคมนาคมขณะนั้นมีเพียงการเดินเท้าและทางเกวียนเท่านั้น บริเวณทางผ่านหมู่บ้านมีศาลาริมทางปลูกไว้ให้ผู้สัญจรผ่านไปมาอาศัย โดยเฉพาะผู้เดินทางผ่านมานมัสการพระแท่นดงรัง จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้กันติดปากว่า "บ้านศาลา" ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาทำรกรากทำมาหากินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงครอบครัวนายปั่น หัสดีผง นายเขียว บุญมา, นายยัง บุญมา ที่อพยพจากตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งได้ชักชวนญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านทยอยเข้ามาตั้งรกราก จนหมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้นไปพร้อมทั้งทางด้านคมนาคมได้เริ่มพัฒนาเข้าสู่หมู่บ้านตามลำดับจนกระทั่งสามารถขอยกฐานะของหมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลและได้เปลี่ยนจากบ้านศาลาเป็น "ตำบลตะคร้ำเอน" ตามสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน ที่มีต้นตะคร้ำขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีตะคร้ำใหญ่ 1 ต้น ขึ้นตระหง่านอยู่กลางหมู่บ้าน มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ ลำต้นตรง กลางลำต้นโค้งงอพ้นศรีษะลาดยาวปลายชี้ขึ้นเหมือนรูปคันไถ มองผิวเผินคล้ายลำต้นเอน จึงนำลักษณะพิเศษนี้ตั้งเป็นชื่อ "ตำบลตะคร้ำเอน" |
![]() |
วิสัยทัศน์และพันธกิจ วิสัยทัศน์การพัฒนาของตำบลตะคร้ำเอน คือ “รวมใจพัฒนา ประชามีรายได้ ผลผลิตหลากหลาย เจ็บตายลดลง นำธงประชาธิปไตย เข้าใจวัฒนธรรม การศึกษาเลิศล้ำ คุณธรรมนำใจ” และมุ่งมั่นพัฒนาตำบลตะคร้ำเอน ในทุกๆ ด้าน ให้สมกับ คำขวัญประจำตำบลตะคร้ำเอน คือ “หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธ์ แหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ดินดี น้ำชุ่ม เขียวชอุ่มทั้งปี ผลผลิตมากมีชีวีมีสุข”
|
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไป ที่ตั้ง ทิศเหนือ จด ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จด ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จด ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ จด เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันออก จด ตำบลดอนชะเอม อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จด ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตก จด ตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนเนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน มีเนื้อที่โดยประมาณ 50.27 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น เนื้อที่ประมาณ 31,418 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านทางทิศตะวันตก บริเวณตอนกลางของพื้นที่อบต. เป็นถนนสายกรุงเทพฯ – กาญจนบุรี มีคลองส่งน้ำระบบชลประทานกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีความเหมาะสมกับการทำการเกษตรกรรมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งชุมชน ที่มีความเจริญ และสะดวกสบายพอสมควรในการคมนาคมทางรถยนต์ |
การเมืองการปกครอง ตำบลตะคร้ำเอนได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย องค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน มีเนื้อที่โดยประมาณ 50.27 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 31,418 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้านในเขต อบต.ตะคร้ำเอน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านสำนักคร้อ หมู่ที่ 2 บ้านสำนักคร้อ หมู่ที่ 3 บ้านท่าสาร หมู่ที่ 4 บ้านเก้าหลัง หมู่ที่ 5 บ้านสนุ่น หมู่ที่ 6 บ้านตะคร้ำเอน หมู่ที่ 7 บ้านหนองตาแพ่ง หมู่ที่ 8 บ้านรางกระต่าย หมู่ที่ 9 บ้านหนองขี้แรต หมู่ที่ 10 บ้านหนองรี หมู่ที่ 12 บ้านห้วยท่านั่ง หมู่ที่ 13 บ้านหนองมะพลับ หมู่ที่ 14 บ้านสันติสุข หมู่ที่ 15 บ้านรวมใจพัฒนา หมู่ที่ 16 บ้านมิตรสัมพันธ์ |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพ อาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน มีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกอ้อย ปั้นอิฐ นอกจากนี้ยังมีการค้าขายและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - โรงแรม 2 แห่ง - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 4 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 5 แห่ง - โรงสี 1 แห่ง - โรงงานผลิตปุ๋ย 10 แห่ง - ตลาดกลางรับซื้อข้าวเปลือก 1 แห่ง สภาพทางสังคม มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน 15 คน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 20 คน - อปพร. 70 คน - ตชต.ตำบลตะคร้ำเอน 10 คน |
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สภาพทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน / ห้องสมุดประชาชน 15 แห่ง สถาบันและองค์กรทางการศึกษา วัด/สำนักสงฆ์ 3 แห่ง
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรณ์ธรรมชาติ การบริการพื้นที่ การคมนาคม การคมนาคมภายในตำบลตะคร้ำเอนระหว่างหมู่บ้านด้วยกัน มีถนนลาดยางเชื่อมต่อ ทุกหมู่บ้านและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กตามชุมชนหนาแน่น แต่ยังมีลักษณะของถนนที่เป็นลูกรังมีอยู่ในบางพื้นที่จึงต้องทำการพัฒนา จำนวนเส้นทางที่เป็นถนนลูกรังให้เป็นถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีตเสริมเหล็กต่อ การไฟฟ้า หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้เข้าถึงจำนวน 15 หมู่บ้านและจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 13,603 คน การสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง 1 แห่ง อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สถานีตำรวจ 1 แห่ง สถานีดับเพลิง 1 แห่ง ป้อมตำรวจ 2 แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน จะมีลักษณะเป็นบึงขนาดใหญ่และมีน้ำในบึง จึงทำให้ประชาชนสามารถสูบน้ำไปใช้ในการเกษตรได้ แหล่งน้ำธรรมชาติ บึง , หนองและอื่น ๆ 1 แห่ง |
ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในส่วนของการบริหารงานนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนต่าง ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้น โดยมีพนักงานส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน
|
สำนักงานปลัด ให้มีหัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนอัตรากำลัง งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน งานบรรจุแต่งตั้งการเลื่อนระดับ งานโอน ย้าย งานทะเบียนประวัติและบัตร งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร งานประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความชอบ งานดำเนินการทางวินัย งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ งานเสนอของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และประกาศเกียรติคุณ งานธุรการงานสารบรรณกลาง งานรัฐพิธี พิธีการต่างๆ งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน งานรับรอง งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ งานด้านนิติการ และดำเนินคดี งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการต่างๆ งานสิทธิสวัสดิการทะเบียนประวัติ การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน งานส่งเสริมประชาธิปไตย งานเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำระบบข้อมูล งานจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนต่างๆราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย |
กองคลัง ให้มีผู้อำนวยการกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานเบิกจ่าย รับ นำส่ง เก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการเบิกและอนุมัติฏีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนและเงินอื่นๆ งานคำขอเบิกเงิน สวัสดิการต่าง ๆ งานจัดทำบัญชี งานทะเบียนคุมรายได้ รายจ่ายทุกประเภทและจัดทำทะเบียนคุมเงิน งานจัดทำงบทดลอง งบแสดงฐานะทางการเงิน งบทรัพย์สิน งบหนี้สิน เจ้าหนี้ และเงินสะสมประจำเดือน ประจำปี งานจัดข้อมูลสถิติการคลัง งานควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุ งานเกี่ยวกับซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุ งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สิน งานการควบคุมรับ-จ่ายพัสดุ งานตรวจสอบการรับ จ่ายพัสดุประจำปี งานเกี่ยวกับทรัพย์สิน งานจัดเก็บภาษี งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย |
กองช่าง ให้มีผู้อำนวยการกองช่างองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองช่างองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจและจัดทำโครงการ งานออกแบบและเขียนแบบ งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่างๆ งานการควบคุมอาคาร งานจัดทำแผนที่และแผนผังต่างๆ งานประมาณโครงการต่างๆ งานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลงานของส่วนโยธา งานกำหนดราคากลางของวัสดุและงานต่างๆ ของท้องถิ่น งานวางแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุงงานควบคุมการก่อสร้าง งานคุมการซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค งานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานระบายน้ำ งานสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบล งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย |
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้มีผู้อำนวยการกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมการกีฬา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการศึกษา งานสังคมสงเคราะห์ งานห้องสมุดประชาชน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย |